โฆษณาต้านคอรัปชั่นที่โดนแบน

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555


เขตคลองสามวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตคลองสามวา
กรุงเทพมหานคร
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตคลองสามวา
Cquote1.pngมีวัดวาอาราม มัสยิดงาม คู่วัฒนธรรม
ไร่ข้าวไร่หญ้าเขียวขจี อีกโรงสีชุมชน
สวนสัตว์ซาฟารีน่ายล ทุกชุมชนส่วนร่วมดี
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทยเขตคลองสามวา
อักษรโรมันKhet Khlong Sam Wa
รหัสทางภูมิศาสตร์1046
รหัสไปรษณีย์10510
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่110.686[1] ตร.กม.
ประชากร154,766[2] คน (พ.ศ. 2552)
ความหนาแน่น1,398.24 คน/ตร.กม.
สำนักงานเขต
ที่ตั้งเลขที่ 111 ถนนเลียบคลองสอง
แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510
พิกัด13°51′35″N, 100°42′15″E
หมายเลขโทรศัพท์0 2548 0326, 0 2548 0327
หมายเลขโทรสาร0 2548 0322
เว็บไซต์เว็บไซต์สำนักงานเขตคลองสามวา
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เขตคลองสามวา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีคลองสามวาผ่านกลางพื้นที่และมีคลองซอยเชื่อมระหว่างคลองหลักเป็นก้างปลา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดปทุมธานีเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหนองจอก มีคลองเก้า คลองแบนชะโด และคลองลัดตาเตี้ยเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตมีนบุรี มีคลองแสนแสบ คลองบึงลำไผ่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงไทย) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) คลองสามวา ลำรางสามวา คลองเจ๊ก ลำรางโต๊ะสุข ถนนหทัยราษฎร์ ซอยหทัยราษฎร์ 29 (โชคอนันต์) ลำรางคูคต และคลองพระยาสุเรนทร์ 2 (ลำควายตาย) เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคันนายาว เขตบางเขน และเขตสายไหม มีคลองบางชัน คลองวัดคู้บอน คลองสองตะวันตก และคลองพระยาสุเรนทร์ (หนองใหญ่) เป็นเส้นแบ่งเขต

[แก้]ประวัติ

บริเวณเขตคลองสามวาในปัจจุบันเดิมอยู่ในเขตการปกครองของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกท้องที่บริเวณทุ่งแสนแสบทางทิศตะวันออกของพระนครขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า "เมืองมีนบุรี"[3][4] อำเภอคลองสามวาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง[3] เนื่องจากเป็นอำเภอที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) ใหม่แห่งนี้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2474 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ทางการจึงได้ยุบจังหวัดมีนบุรีเข้ากับจังหวัดพระนคร[3] อำเภอเมืองถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอมีนบุรี
ในปี พ.ศ. 2505 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งตำบลทรายกองดินใต้โดยแบ่งพื้นที่จากตำบลทรายกองดิน[5] โดยในปีถัดมาก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 มีการปรับปรุงการบริหารราชการเมืองหลวงใหม่ อำเภอมีนบุรีจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตมีนบุรี ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร[7] แบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 แขวง
ต่อมาเขตมีนบุรีมีประชากรหนาแน่นและมีความเจริญเพิ่มขึ้น ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศแยกพื้นที่ 5 แขวงทางด้านเหนือของเขตมีนบุรีมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และได้ใช้ชื่อเขตใหม่นี้ว่า เขตคลองสามวา[8] เพื่อคงชื่อในประวัติศาสตร์ไว้[9] โดยสำนักงานเขตคลองสามวาได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[8][9] พร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตหลักสี่[10] เขตสายไหม[11] เขตคันนายาว[11] เขตสะพานสูง[11] และเขตวังทองหลาง[12]

[แก้]การแบ่งเขตการปกครอง

เขตคลองสามวาแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1.สามวาตะวันตก(Sam Wa Tawantok)
2.สามวาตะวันออก(Sam Wa Tawan-ok)
3.บางชัน(Bang Chan)
4.ทรายกองดิน(Sai Kong Din)
5.ทรายกองดินใต้(Sai Kong Din Tai)

[แก้]การคมนาคม

ในพื้นที่เขตคลองสามวามีถนนสายหลักซึ่งเชื่อมการคมนาคมเขตนี้เข้ากับเขตใกล้เคียง ได้แก่
ส่วนถนนสายรองและถนนที่ตัดผ่านเฉพาะแต่ละท้องถิ่น ได้แก่
ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน

[แก้]สถานที่สำคัญ

[แก้]โรงเรียน

[แก้]สถานที่ท่องเที่ยว

การแสดงของปลาโลมาที่ซาฟารีเวิลด์
  • ซาฟารีเวิลด์
  • บางกอกฟาร์ม
  • มัสยิดมาลุลอิสลาม
  • มารีนปาร์ค
  • วัดแป้นทองโสภาราม
  • วัดพระยาสุเรนทร์
  • วัดลำกระดาน
  • วัดสัมมาชัญญาวาส
  • แหล่งเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2550. สืบค้น 24 ตุลาคม 2551.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat52.html 2553. สืบค้น 21 เมษายน 2553.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 สำนักงานเขตมีนบุรี. ความเป็นมาของเขตมีนบุรี. สืบค้น 24 ตุลาคม 2551.
  4. ^ "แจ้งความกระทรวงนครบาล"ราชกิจจานุเบกษา 19 (ฉบับที่ 23): 464. 7 กันยายน 2445http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2445/023/464_1.PDF.
  5. ^ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร"ราชกิจจานุเบกษา 79 (ฉบับที่ 46 ง): 1239-1241. 15 พฤษภาคม 2505.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2505/D/046/1239.PDF.
  6. ^ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลมีนบุรี จังหวัดพระนคร"ราชกิจจานุเบกษา 80 (ฉบับที่ 38 ง): 1199-1200. 23 เมษายน 2506.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/D/038/1199.PDF.
  7. ^ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335"ราชกิจจานุเบกษา 89 (ฉบับที่ พิเศษ 190 ก): 187-201. 13 ธันวาคม 2515.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/A/190/187.PDF.
  8. 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี และตั้งเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร"ราชกิจจานุเบกษา 114 (ฉบับที่ พิเศษ 108 ง): 25-30. 18 พฤศจิกายน 2540http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/E/108/25.PDF.
  9. 9.0 9.1 สำนักงานเขตคลองสามวา. ประวัติความเป็นมาของเขตคลองสามวา. สืบค้น 24 ตุลาคม 2551.
  10. ^ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและตั้งเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร"ราชกิจจานุเบกษา 114 (ฉบับที่ พิเศษ 108 ง): 2-5. 18 พฤศจิกายน 2540.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/E/108/2.PDF.
  11. 11.0 11.1 11.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขน เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ และตั้งเขตสายไหม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง"ราชกิจจานุเบกษา114 (ฉบับที่ พิเศษ 108 ง): 6-19. 18 พฤศจิกายน 2540http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/E/108/6.PDF.
  12. ^ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และตั้งเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร"ราชกิจจานุเบกษา 114 (ฉบับที่ พิเศษ 108 ง): 20-24. 18 พฤศจิกายน 2540http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/E/108/20.PDF.