โฆษณาต้านคอรัปชั่นที่โดนแบน

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์

                              ดอยอินทนนท์

                                     
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย ที่งดงามไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวบนเขา ถ้ำ น้ำตก เดินป่า กางเต้นท์พักแรมกลางป่า ทั้งมีรีสอร์ต และบ้านพักของอุทยานฯ ไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว ถ้าจะเที่ยวในแบบขอพักอยู่ตามบ้านชาวบ้านที่ยินดีรับแขกเข้าพัก โดยใช้ชีวิตประจำคล้ายสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จะยิ่งซาบซึ้ง ได้สัมผัสกับน้ำใจ อาหาร และขนบธรรมเนียมประเพณีชาวเหนืออย่างดื่มด่ำ

บนยอดดอยอินทนนท์ มีผืนป่าดิบดึกดำบรรพ์อันกว้างใหญ่สมบูรณ์ปกคลุม ซึ่งน้อยคนนักจะได้สัมผัสธรรมชาติที่แท้จริงของภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศ ในอดีตมีเพียงเส้นทางเล็ก ๆ ตัดขึ้นไปสู่ป่าลึกอันชุ่มชื้นและหนาวเย็น จึงจะได้พบเห็นกล้วยไม้และพันธุ์ไม้ป่าที่สวยงามและหายากยิ่ง นับแต่รองเท้านารีอินทนนท์ที่ค้นพบเป็นแห่งแรกบนดอยนี้ เอื้องกำเบ้อ ซึ่งเป็นกล้วยไม้จำพวกซิมบิเดียม มีสีเหลืองทอง ยังมีกุหลาบพันปีที่มีลำต้นสูงใหญ่กว่ากุหลาบแดงบนภูหลวงและภูกระดึงมากมายนัก อีกทั้งดอกไม้ป่าอีกหลายชนิดที่ขึ้นดารดาษทั่วหุบเขา สลับกับพันธุ์ไม้จำพวกเฟิร์น ออสมันดา และอื่น ๆ เทือกเขาสูงมิได้มีเพียงยอดสูงสุด คือ ดอยอ่างกาหลวงเท่านั้น ทว่าเทือกเขาดอยอินทนนท์นั้นคือแนวทิวเขาสลับซับซ้อนตอนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยอันพาดผ่านชายแดนตะวันตกเฉียงเหนือลงไป มียอดดอยอินทนนท์ เป็นยอดสูงสุด สูงถึง 2,565 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นที่ประดิษฐานกู่พระอัฐิของพระเจ้าอินทวิชานนท์ ผู้ครองเชียงใหม่องค์ที่ 7 และเป็นที่ตั้งของสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศไทย ไม่ว่าฤดูกาลใด อากาศเย็นตลอดปี ราว 5 ? 18 องศาเซลเซียส

การเดินทาง
จากตัวเมืองเชียงใหม่ เดินทางโดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ผ่านอำเภอหางดงและอำเภอสันปาตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 (จอมทอง-ดอยอินทนนท์) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 31

รถยนต์ส่วนตัว ใช้ทางหลวงหมายเลข 108 (เชียงใหม่-จอมทอง)ผ่าน อ.หางดง อ.สันป่าตอง แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1009 ตรงหลัก กม.57 ก่อนถึงตัว อ.จอมทองประมาณ 1 กม. จากทางแยกไปอีกประมาณ 8 กม.ก็จะถึงด่านตรวจของ อช.ดอยอินทนนท์ ถนนจะไปสิ้นสุดตรงยอดดอย เป็นทางลาดยางตลอดสาย เส้นทางส่วนใหญ่เป็นทางขึ้นเขาคดเคี้ยว โปรดขับรถด้วยความระมัดระวัง และรถควรมีกำลังเพียงพอ รวมระยะทางจากจอมทองถึงยอดดอยอินทนนท์ประมาณ 48 กม. จากเชิงดอยถึงยอดดอยใช้เวลาประมาณ 1 ชม.

รถประจำทาง นั่งรถสองแถวสายเชียงใหม่-จอมทอง เมื่อถึงจอมทองแล้วใช้บริการรถสองแถวสายจอมทอง-อินทนนท์ สำหรับผู้ชื่นชอบการโบกรถ อาจขออาศัยรถที่วิ่งผ่านมาไปลงยังจุดที่ต้องการได้

ค่าธรรมเนียม อช.ดอยอินทนนท์ มีด่านตรวจเพื่อป้องกันการลักลอบล่าลัตว์และเก็บของป่าทั้งหมดสี่แห่งคือ ทางเข้าน้ำตกแม่ยะ ทางเข้าน้ำตกแม่กลาง บนทางหลางสาย 1009 ตรง กม.8.2 และกม.37.4 โดยเก็บค่าธรรมเนียมดังนี้

-ยานพาหนะสี่ล้อ 30 บาท
-ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก(อายุ 3-14 ปี)10 บาท

นักท่องเที่ยวสามารถชำระค่าธรรมเนียมที่ด้านตรวจใดก็ได้แต่ต้องเก็บหางบัตรค่าธรรมเนียมไว้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ด่านตรวจอื่น เพื่อใช้ผ่านเข้า-ออกอุทยานภายใน 1 วัน โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมซ้ำอีก

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ภายในอุทยานมีตู้โทรศัพท์สาธารณะ ร้านอาหาร และร้านจำหน่ายสินค้าจำเป็นพื้นฐานทั้งของอุทยาน และของชาวม้งบ้านขุนกลาง ทางอุทยานไม่อนุญาตให้ก่อไผ แต่อนุญาตให้ใช้เตาถ่านได้ มีบริการที่ร้านค้าของบ้านม้งขุนกลาง ค่าเช่าคืนละ 50 บาท/เตา ภายในมีบ้านพักในป่าสนขุนกลาง จำนวน 10 หลัง และเป็นพื้นที่กางเต็นท์ ที่พักแห่งใหม่คือบริเวณหน่วยพิทักษ์ อช.น้ำตกแม่ปานห้วยทรายเหลือง บนทางหลวงหมายเลข 1192 (อินทนนท์-แม่แจ่ม) กม.6 มีล้านพักแบบค่ายเยาวชน บ้านแฝด และที่กางเต็นท์ สำหรับผู้มาจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มใหญ่ ติดต่อที่ที่ทำการ อช.ดอยอินทนนท์ โทร.0-5326-8550,0-5326-8552

ที่พักอีกจุดหนึ่งเป็นที่กางเต็นท์ในนาข้าวของชาวกะเหรี่ยงใกล้กับบ้านแม่กลางหลวง หลัก กม.26 เป็นที่พักแรมที่ดำเนินงานในรูปสหกรณ์การท่องเที่ยวของชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพาเที่ยวชมหมู่บ้านกะเหรี่ยง ท่องเที่ยวน้ำตก และจัดค่ายต่างๆ ติดต่อได้ที่ซัมมิท อีโค ลอดจ์ 42/2 หมู่ 11 อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160 หรือ ชิติพัทธ์ โพธิ์รักษา โทร.0-1881-7346

สำหรับนักดูนก สามารถกางเต็นท์ได้ที่ด้านหลังร้านลุงแดงซึ่งเป็นพื้นที่ของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง ริมลำห้วย มีห้องน้ำบริการอย่างสะดวกสบาย เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท/คน/คืน

สิงน่าสนใจ

น้ำตกแม่ยะ
- การเดินทาง อยู่ทางตอนใต้ของ อช.ดอยอินทนนท์ เมื่อเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 1009 ไปประมาณ 1 กม. จะมีป้ายบอกให้เลี้ยวซ้ายเมื่อผ่านร้านค้าชุมชน มีป้ายบอกทางขนาดเล็ก ให้เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 14 กม.

เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สูงประมาณ 280 ม. มีทั้งหมด 30 ชั้น มีต้นกำเนิดมาจากดอยอินทนนท์ ในฤดูน้ำหลากสายน้ำจะแผ่กระจายออกไปตามเชิงผาที่กว้างราว 100 ม.ในช่วงหน้าแล้งแม้จะมีน้ำน้อยกว่าหน้าฝน แต่ใสสะอาดดูสวยงามไปอีกแบบ และยังเล่นน้ำได้ปลอดภัยกว่า

น้ำตกแม่กลาง
- การเดินทาง อยู่ใกล้กับทางแยกไปด่านตรวจ อช.เมื่อวิ่งตามทางหลวงสาย 1009 ไปประมาณ 8 กม. จะมีทางแยก ให้ไปทางซ้ายประมาณ 500 ม. จะถึงตัวน้ำตก

จัดเป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดแห่งหนึ่งของเชียงใหม่เพราะขนาดใหญ่และมีน้ำไหลตลอดทั้งปี ทางเข้าน้ำตกมีด่านตรวจซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียม ทางซ้ายมือเป็นลำน้ำแม่กลางอันเป็นที่มาของชื่อน้ำตก ประมาณ 180 ม. จากด่านจะถึงตัวน้ำตก ทางขวามือมีศาลาให้นั่งพักผ่อนหย่อนใจได้ และมีทางเดินขึ้นไปบนผาคันนาและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

น้ำตกแม่กลางมี “วัง” หรือแองน้ำลึกให้เล่นน้ำอยู่หลายวัง แต่โปรดใช้ความระมัดระวังโดยเฉพาะช่วงฤดูฝนที่น้ำหลาก ความแรงของกระแสน้ำอาจพัดพาให้ไปติดหลืบหินเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ๐ถ้ำบริจินดา -การเดินทาง เลยด่านตรวจ อช.ประมาณ 500 ม. ทางขวามีทางดินลูกรังผ่านไปตามป่าเต็งรังที่ยังสมบูรณ์ ประมาณ 1 กม. ถนนจะไปสุดที่ริมลำน้ำแม่หอย จอดรถที่นี่ เดินข้ามลำน้ำไปตามทางผ่านป่าไผ่อีกประมาณ 1 กม. เส้นทางค่อนข้างชัน

เป็นถ้ำที่เกิดบนเขาหินปูนซึ่งมีอยู่น้อยมากในเขตอุทยานฯหินปูน บริเวณนี้เป็นหินยุคออร์โดวิเชียน ประมาณ 500 ล้านปีก่อน ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย (ชาวเหนือเรียกนมผา) ที่ธรรมชาติใช้เวลาสร้างสรรค์มานับล้านๆ ปี

น้ำตกวชิรธาร
- การเดินทาง อยู่บริเวณ กม.20 มีทางเข้าสองทาง คือ ทางด้านล่างประมาณ กม.20 มีทางรถเข้าไป 1 กม. ก็จะถึงด่านล่างของน้ำตก อีกทางหนึ่งเลย กม.20 มา 500 ม. ทางขวามือมีลานจอดรถ และมีทางเดินเท้าลงสู่น้ำตกประมาณ 350 ม.

เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เดิมชื่อ “ตาดฆ้องโยง” ต่อมาเปลี่ยนชื่อตามพระนามาภิไธยของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็น “น้ำตกวชิรธาร” น้ำตกจะไหลจากหน้าผาลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีความสูงประมาณ 80 ม. ฝั่งตรงข้ามมีเชิงผาสูงชันเรียกว่า “ผาม่อนแก้ว” ความงามอีกประการหนึ่งของน้ำตกแห่งนี้คือสายรุ้งที่โอบลำน้ำ เกิดจากดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวันที่สาดส่องกระทบกับละอองน้ำของน้ำตก

โครงการหลวงบ้านขุนกลางและน้ำตกสิริภูมิ
- การเดินทาง ก่อนถึงที่ทำการ กม.31 ประมาณ 100 ม. มีทางแยกเข้าบ้านขุนหลวง
เป็นชุมชนชาวเขาเผ่าม้งขนาดใหญ่ มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปยังสถานีโครงการหลวงฯ และน้ำตกสิริภูมิ ซึ่งเป็นสายน้ำสองสายไหลคู่กันตกลงมาจากหน้าผาสูง เดิมเรียกว่า “น้ำตกเลาลี” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ น้ำตกจะอยู่ห่างจากปากทางประมาณ 1 กม. ระหว่างทางจะพบแปลงไม้ดอกไม้ผลเมืองหนาว

พระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ
  พ.ศ.2530 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ กองทัพอากาศได้ก่อสร้างเจดีย์ทรงระฆังคว่ำรูป 12 เหลี่ยม สูง 55 ม. ที่ยอดปลีสีทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ภายในโถงกลางรูปโดม 12 เหลี่ยมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง แกะสลักด้วยหินหยกขาว

บริเวณโดยรอบพระมหาธาตุทั้งสององค์ ได้รับการตกแต่งจัดสวนอย่างงดงาม และมีจุดชมวิว ตอนเข้าสามารถมาชมทะเลหมอกที่นี่ได้ หรือถ้าอากาศเปิดจะมองเห็น อ.แม่แจ่มอยู่ในหุบขา

ยอดดอยอินทนนท์
บริเวณยอดดอยเดิมเรียกว่า “อ่างกาหลวง” เนื่องจากมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำขังตลอดปี และมีหินก้อนใหญ่เหมือนรูปกาตั้งอยู่จึงเรียกว่า “อ่างกาหลวง” ต่อมาเมื่อมีการนำพระอัฐิของเจ้าอินทวิชยานนท์ ผู้ครองนครเชียงใหม่ขึ้นไปประดิษฐานจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ดอยอินทนนท์” ปัจจุบันบนยอดดอยยังเป็นที่ตั้งของสถานีเรดาห์ของกองทัพอากาศ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของอุทยาน ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับดอยอินทนนท์จัดทำไว้อย่างดี นอกจากสัมผัสกับความหนาวเย็นของยอดดอยแล้ว ยังมีนกหายากหลายชนิดหากินอยู่ตามป่าสองข้างทาง นกเหล่านี้ค่อนข้างเชื่อง สามารถดูนกได้อย่างใกล้ชิด เช่น นกศิวะหางสีตาล นกอีแพรดท้องเหลือง นกกินปลีหลายชนิด เป็นต้น

เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกาหลวง
เส้นทางนี้มีระยะทางเพียง 300 ม. แต่ผ่านสิ่งน่าสนใจหลายอย่าง ทางจะเดินไปตามสะพานไม้ พบข้าวตอกฤาษีซึ่งเป็นมอสขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ขึ้นเฉพาะในที่อากาศหนาวเย็นและมีความชุ่มชื้นสูง ตั้งแต่ระดับ 1,000 ม. ขึ้นไป มีลำต้นสีขาวออกเขียว ตรงส่วนยอดสีแดง ขึ้นปกคลุมอยู่ใต้ต้นกุหลาบพันปีที่ออกดอกแดงสะพรั่งประมาณเดือน ม.ค.-ก.พ.

ถัดไปจะพบที่โล่งว่างซึ่งเป็น “พรุ” ที่มีน้ำขังอยู่ตลอดเวลาเป็นพรุน้ำจืดที่อยู่สูงที่สุดในประเทศ ในพรุนี้มีสัตว์ป่าหายากหลายชนิดอาศัยอยู่ พอถึงช่วงสะพานเลี้ยวซ้าย ทางขวามือซึ่งเป็นที่ราบเชิงเขาจะมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมากปกคลุมด้วยมอสและเฟินเต็มต้น เหมือนต้นไหมผ้ากันหนาว ตามทางจะมีป้ายความรู้ เช่น “อิงอาศัย” วิหคไพร” “ต้นน้ำ” อธิบายถึงสิ่งต่างๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ว่าจะเป็นนก ต้นไม้ และสัตว์ต่างๆ ลองสังเกตสภาพธรรมชาติรอบตัว คุณจะเห็นสิ่งเล็กๆ ที่งดงามได้เสมอ

ขณะเดินศึกษาธรรมชาติทั้งสองเส้นทาง อาจรู้สึกเหนื่อยได้ง่าย เนื่องจากพื้นที่ที่มีระดับความสูงมากๆ ทำให้อากาศมีออกซิเจนน้อย ดังนั้นควรเดินช้าๆ จะดีที่สุด

เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน
เส้นทางเดินนี้มีระยะทาง 3 กม.มีลานจอดรถกว้างอยู่ด้านหน้า เส้นทางช่วงแรกจะเดินผ่านน้ำตกเล็กๆ สภาพป่าเป็นป่าดงดิบเขา มีสะพานไม้ข้ามห้วย ทางเดินจะเริ่มชันขึ้น ช่วงปลายฤดูฝนถึงปลายฤดูหนาวจะมีขนุนดินซึ่งเป็นพืชกาฝากออกดอกอยู่ตามพื้นรวมถึงเฟินอีกหลายชนิด เส้นทางจะผ่านไปในป่าดงดิบเขาเกือบ 1 กม. แล้วทะลุออกยังสันกิ่วแม่ปานซึ่งเป็นทุ่งหญ้าโล่งกว้าง ลมแรง สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้อย่างสวยงาม ถ้าอากาศดีจะมองเห็น อ.แม่แจ่มได้

จากนั้นทางเดินลงมาตามสันเขาพบดงต้นกุหลาบพันปี ประมาณเดือน ม.ค.-ก.พ. กุหลาบพันปีออกดอกสีแดงพราวไปทั้งต้น ซึ่งมีนกหลายชนิดมากินน้ำหวาน โดยเฉพาะนกกินปลีหางยาวเขียวและนกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า นอกจากนี้ยังมีต้นไม้เล็กๆ ที่ออกดอกอยู่สองข้างทางอย่างช้ามะยมดอย ต่างไก่ป่า ทางช่วงสุดท้ายผ่านป่าดงดิบอีกครั้ง ลองสังเกตตามข้างทางจะพบเห็ดรูปร่างประหาลดหรือสีสันสวยงามได้ไม่ยากนัก

น้ำตกแม่ปานและน้ำตกห้วยทรายเหลือง
- การเดินทาง ถ้ามาจากด่านตรวจ กม.37.5 มีทางแยกซ้ายมือลงมา 6 กม. มีป้ายบอกทางไปน้ำตกประมาณ 9 กม. เส้นทางเป็นดินลูกรังอัดแน่น แต่ในฤดูฝนจะลื่นมาก เมื่อถึงหน่วยพิทักษ์ฯ จะมีลานจอดรถกว้างขวาง

น้ำตกแม่ปานนับเป็นน้ำตกที่ยาวที่สุดใน จ.เชียงใหม่ และมีความสวยงามตามธรรมชาติ ที่ว่ายาวนั้นเพราะน้ำจะลัดเลาะตกลงมาจากหน้าผาลดหลั่นกันลงมาเป็นทางยาวถึง 100 ม. ถ้ามองดูอยู่ไกลๆ จะเห็นสายน้ำยาวสีขาวตัดกับสีเขียวของต้นไม้ เบื้องล่างมีแอ่งน้ำธรรมชาติสำหรับเล่นน้ำ สภาพป่าบริเวณนี้เป็นป่าดงดิบเขา ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกและพรรณไม้หลากชนิดให้ชม ส่วนน้ำตกห้วยทรายเหลืองเป็นน้ำตกขนาดปานกลาง มีน้ำไหลตลอดทั้งปี น้ำตกอยู่ใกล้กับที่จอดรถ มีศาลาพักร้อนสำหรับผู้มาเที่ยวน้ำตก

น้ำตกสิริธาร
เป็นน้ำตกขนาดกลางที่เพิ่งค้นพบใหม่ และจัดสร้างเส้นทางเดินเท้าไปยังจุดชมน้ำตก เมื่อปี พ.ศ.2545 ที่ผ่านมา โดยได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อเดือน มี.ค.2545

จากลานจอดรถต้องเดินลงเนินไปอีก 100 ม. จะถึงจุดชมน้ำตก น้ำตกแห่งนี้เกิดจากลำห้วยแม่กลางไหลตกจากผาหินสองช่วง แต่ละช่วงสูงประมาณ 20 ม. ชั้นบนเป็นสายน้ำสองสายไหลลงมายังแอ่งน้ำเบื้องล่าง จากนั้นไหลตกลงมาจากผาหินเบื้องล่างอีกระดับหนึ่ง เกิดเป็นสายน้ำตกท่ามกลางป่าร่มรื่น มีทางเดินลัดเลาะไปยังลำธารได้ แต่เนื่องจากสายน้ำไหลเชี่ยว จึงไม่เหมาะสำหรับเล่นน้ำ

สมเด้จพระเจ้าตากสินม หาราช



สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระนามเดิมว่า สิน ทรงพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๗ ที่บ้านใกล้กำแพงพระนครศรีอยุธยา
พระราชบิดามีบรรดาศักดิ์เป็น  ขุนพัฒน์
พระราชมารดาชื่อ  นกเอี้ยง
ต่อมาภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระเทพามาตย์ เจ้าพระยาจักรี สมุหนายก
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ขอรับไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรี
ได้นำเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็ก ทำราชการอยู่ในบังคับบัญชาของหลวงศักดิ์นายเวร
เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี เจ้าพระยาจักรี ได้ทำการอุปสมบทให้ในสำนักพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดเชิงท่า)
อยู่สามพรรษาแล้วลาสิกขาเข้ารับราชการตามเดิม ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓) ได้รับโปรดเกล้า ฯให้เป็นข้าหลวงพิเศษเดินทางไปชำระคดีความตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีความดีความชอบ ได้รับโปรดเกล้า ฯ
ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ต่อมาเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาตากแทน
เมื่อพม่ายกกำลังเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าครั้งที่สอง พระยาตากได้เข้ามาช่วยราชการป้องกันกรุงศรีอยุธยาอย่างเข้มแข็ง แต่ในที่สุดเมื่อเห็นว่าการป้องกันกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้น ไม่อำนวยให้กระทำได้อย่างเต็มที่
และอยู่นอกอำนาจหน้าที่ที่พระองค์จะแก้ไขได้ จึงได้หาทางต่อสู้ใหม่ ด้วยการตีฝ่าวงล้อมพม่าออกไป ด้วยกำลังเล็กน้อยเพียง ๕๐๐ คนได้ต่อสู้กับกองทหารพม่าที่บ้านพรานนก ได้ชัยชนะจากนั้นได้นำกำลังไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี เพื่อรวบรวมกำลังมากู้กรุงศรีอยุธยาที่เสียแก่พม่า เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ เมื่อพระองค์ทรงรวบรวมกำลังพลได้ประมาณ ๕,๐๐๐ คน กับเรือรบ ๑๐๐ ลำ ก็ได้ยกกำลังทางเรือเข้ายึดเมืองธนบุรีได้เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๑ ในวันต่อมาพระองค์ได้ตีค่ายทหารพม่าที่ค่ายโพธิสามต้น และค่ายอื่นๆ แตกทุกค่าย ทำการกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จในเวลาเพียงเจ็ดเดือน
หลังจากขับไล่พม่าออกไปแล้วพระองค์ก็ได้ทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๑
เมื่อพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชที่ ๔ แต่คนทั่วไปนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  พระองค์ทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาที่ถูกฝ่ายพม่าเผาผลาญวอดวาย ทำลายบ้านเมืองไปหมดสิ้นเกินกว่าที่จะบูรณปฎิสังขรณ์ให้กลับเป็นเมืองหลวงได้ จึงทรงเลือกเมืองธนบุรี
ที่มีความเหมาะสมกว่าขึ้นเป็นราชธานี พระราชกรณียกิจของพระองค์ในลำดับต่อมาคือการรวบรวมกำลังไว้ต่อสู้กับพม่าต่อไปคือความเป็นปึกแผ่นของพระราชอาณาจักร  ซึ่งในเวลานั้นได้มีผู้ตั้งตนเป็นใหญ่ห้าชุมนุมต่าง ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมาย และชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เมื่อรวมชุมนุมของพระองค์เองที่กรุงธนบุรีแล้วก็มีถึงห้าชุมนุม   พระองค์ทรงใช้เวลาในการปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ อยู่สามปี จึงเสร็จปราบปรามได้เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๓ ทำให้พระราชอาณาจักรเป็นปึกแผ่น ส่วนหัวเมืองมาลายูได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยามาแต่เดิม และได้แยกตัวเป็นอิสระเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์เห็นว่ายังไม่พร้อม และยังไม่มีความสำคัญเร่งด่วน ที่จะไปปราบปรามจึงได้ปล่อยไปก่อน ในการทำสงครามกับพม่าในระยะต่อมา พระองค์ได้เปลี่ยนหลักนิยมในการยึดพระนครเป็นที่ตั้งรับข้าศึก มาเป็นการยกกำลังไปยับยั้งข้าศึกที่ชายแดน ทำให้ประชาชนพลเมืองไม่ได้รับอันตรายเสียหายเดือดร้อนจากข้าศึก ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการทำสงครามขยายพระราชอาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยาออกไปอย่างกว้างขวาง โดยได้ทำศึกสงครามกับพม่า และอาณาจักรอื่น ๆ รวม ๑๒ ครั้งคือ
พ.ศ.๒๓๑๐ ศึกพม่าที่บางกุ้ง
พ.ศ.๒๓๑๒ ศึกเมืองเขมรครั้งที่ ๑
พ.ศ.๒๓๑๔ ศึกเมืองเชียงใหม่
พ.ศ.๒๓๑๔ ศึกเมืองเขมรครั้งที่ ๒
พ.ศ.๒๓๑๕ - ๒๓๑๖ ศึกพม่าตีเมืองพิชัย
พ.ศ.๒๓๑๗ ศึกเมืองเชียงใหม่
พ.ศ.๒๓๑๘ ศึกพม่าที่บางแก้ว
พ.ศ.๒๓๑๘ ศึกอะแ

                                                   สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


ประวัติความเป็นมา
 
ตามประวัติเชื่อกันว่า เขาขุนพนมเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้า
ตากสินมหาราช ภายหลังจากสิ้นรัชกาลของพระองค์ มีผู้สันนิษฐานว่าพระเจ้า
ตากสิน มิได้ทรงถูกประหารชีวิตอย่างที่พงศาวดารได้กล่าวอ้าง แต่ได้ทรงสับ
เปลี่ยนพระองค์กับพระญาติหรือทหารคนสนิท แล้วเสด็จมายังนครศรีธรรมราช
มีการเตรียมการโดยมีการสร้างป้อมปราการทำเชิงเทินป้อมวงกลมตามชะง่อน
ผาเพื่อให้พระเจ้าตากสินได้ประทับเมื่อทรงผนวชเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่
วัดเขาขุนพนมจนเสด็จสวรรคต  แต่บางกระแสกล่าวว่าเขาขุนพนมสร้างโดย
พระยาตรังภูมาภิบาลเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช สำหรับพักตากอากาศที่เขาขุน
พนมจึงมีการสร้างป้อมปราการคอยป้องกันอย่างแน่นหนา

ความสำคัญต่อชุมชน
 
ชาวเขาขุนพนมมีความเชื่อเรื่องพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จมาประทับ
ที่เขาขุนพนม จึงได้ร่วมมือกันสร้างพระตำหนักสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
บริเวณชะง่อนหินเชิงเขาซึ่งเป็นบริเวณที่เชื่อว่าพระองค์ประทับขณะผนวชอยู่
ประชาชนที่ยังระลึกถึงวีรกรรมและความกล้าหาญในการกู้เอกราชชาติไทยใน
สมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ได้ร่วมกันสร้างพระบรมสาทิสลักษณ์ทั้งในเพศ
บรรชิต และชุดฉลองพระองค์นักรบ แล้วอัญเชิญมาไว้ในศาลให้ผู้คนที่ศรัทธา
ได้มากราบไหว้ ปัจจุบันจึงมีประชาชนจากทั่วสารทิศมาเขาขุนพนมอยู่เสมอเพื่อ
ตามรอยพระเจ้าตากสินมหาราช

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
 
เขาขุนพนมมีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนลูกโดดเตี้ย ๆ มีต้นไม้ปกคลุมอยู่
อย่างหนาแน่น บนภูเขามีถ้ำหินปูนที่มีโพรงหินงอกหินย้อน ลักษณะของภูเขา
วางตัวอยู่ในแถบเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ ๗๕๐ เมตร กว้างตามแนวทาง
ทิศตะวันออก - ตะวันตก ประมาณ ๕๐๐ เมตร สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ประมาณ ๔๓ เมตร ส่วนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๑๖๕
เมตร ทางทิศใต้ของภูเขาเป็นทางลาดชัน ทางทิศเหนือเป็นไหล่เขา ทางทิศ
ตะวันตกเป็นสวนมังคุดและสวนยางพารา ทางทิศตะวันตกเป็นโรงเรียนและวัด
เขาขุนพนมเขาขุนพนม มีจุดเด่นอยู่ที่วัดเขาขุนพนมซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก
เฉียงใต้ของเขาขุนพนม  ประวัติการก่อสร้างไม่ปรากฏ  แต่หลักฐานประเภท
โบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ  สามารถบ่งนี้ได้ว่า  วัดเขาขุนพนมน่าจะ
สร้างขึ้น ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญ
ได้แก่
   ๑. พระอุโบสถ

เดิมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาด ๕.๘๐ x ๑๑.๒๐ เมตร ตั้งอยู่บนฐานยก
พื้นสูง ๑.๗๕ เมตร เป็นฐานเขียงสองชั้นและฐานสิงห์หนึ่งชั้น หลังคาจั่วไม่มีช่อ
ฟ้า ใบระกา และหางหงส์ประดับหลังคาของพระอุโบสถเหมือนทั่วไป ลักษณะจะ
เป็นพระอุโบสถที่เรียกว่า มหาอุด คือไม่มีช่องหน้าต่าง พ.ศ. ๒๕๓๓ มีการบูรณะ
ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ทำให้มีช่องรับแสงใต้หน้าบันและใต้ปีกหลังคา ภายใน
พระอุโบสถประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีสาวกซ้ายขวา
ที่พนมมือ ที่มุมด้านข้างฐานชุกชี รอบพระอุโบสถมีใบเสมาแปดใบตั้งอยู่บนฐาน
สิงห์ ย่อมุมได้สิบสอง ส่วนบนเป็นบัวกลุ่มรองรับใบเสมา

๒. ถ้ำพระเจ้าตาก

บันไดทางขึ้นมีรูปพญานาคปูนปั้นเจ็ดเศียรสองตนแผ่พังพานทอดตัวเป็น
ราวบันไดมีทั้งหมด ๒๔๕ ขั้น กลางลำตัวพญานาคสลักเป็นรูปพระพุทธรูปที่นั่งขัดสมาธิปิดตา อยู่ในวงกลมล้อมรอบด้วยลายเม็ดน้ำค้างและกลีบดอกไม้ ด้านนอกวงกลมเป็นลายกระจัง ใต้ศอพญานาคทุกตนมีลายนโม สุดปลายหางพญานาคเป็นเพิงผาขนาดใหญ่เรียกว่า ถ้ำพระเจ้าตากหรือถ้ำเขาขุนพนม ปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันออก มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญได้แก่
 
๒.๑ ประตูทางเข้าด้านหน้า เป็นเสาหัวเม็ดเตี้ย ๆ ช่องประตูกว้างประมาณ
๗๐ เซนติเมตร ติดกับเสาหัวเม็ดด้านเหนือมีกำแพงแก้วเตี้ย ๆ ไปชิดกับผนังกำแพงก่ออิฐถือปูน
 
๒.๒ กำแพงทางด้านทิศเหนือ เป็นกำแพงอิฐถือปูนกว้างประมาณ ๒.๖๐
เมตร ยาว ๙.๓๐ เมตร สูง ๑.๘๐ เมตร ส่วนบนสุดของกำแพงประดับด้วยใบเสมา
ภายในห้องหลังกำแพงประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสามองค์ ด้านข้างผนัง
ถ้ำมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยหนึ่งองค์และพระพุทธรูปสมาธิสององค์ ตัวกำแพงมี
การนำถ้วยชามาตกแต่ง   บริเวณซุ้มของกำแพงยังปรากฏถ้วยลายครามจีนสมัย
ราชวงศ์หมิง ส่วนยอดของซุ้มประตูมีเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์ชิงบริเวณซุ้ม
กำแพงทิศเหนือด้านในก่อเป็นเสา ยอดเสาคงเป็นเจดีย์ยอดแต่ส่วนขององค์ระฆัง
หักหายไปแล้ว เหลือเพียงฐานที่เป็นฐานสิงห์หนึ่งชั้นรองรับบัวกลุ่มประตูด้าน
หลังทำเป็นเสาหัวเข็มสองเสาเหมือนประตูทางเข้าด้านหน้าตัดจากเสาหัวเม็ด
ไปทางทิศเหนือเป็นราวกำแพงเตี้ยๆไปชนกับกำแพง ด้านทิศเหนืออีกด้านไป
ชนทางด้านทิศตะวันตก
 
๒.๓ กำแพงด้านทิศตะวันตก อยู่ตรงกันข้ามกับประตูทางเข้าออกด้าน
หน้าเป็นกำแพงสูงประมาณ ๑.๘๐ เมตร ยอดกำแพงไม่มีใบเสมา ในผนังกำแพง
มีเสาหลอกสามต้น  เสาด้านนอกสุดมีบัวหัวเสาคาดด้วยลูกแก้วอกไก่ ส่วนยอด
เสาคงเป็นเจดีย์ยอดเช่นเดียวกับเสาด้านใน กำแพงด้านนี้ตกแต่งประดับประดา
ด้วยลายปูนปั้นทำเป็นรูปดอกไม้ โดยใช้เศษเครื่องลายครามจีนตกแต่ง จุดเด่น
ของผนังด้านนี้คือปูนปั้นรูปราหูอมจันทร์ ราหูไม่มีริมผีปากล่าง กางแขนออก
สองมือประคองดวงจันทร์ อ้าปากแยกเขี้ยวคล้ายจะกลืนกิน
 
๒.๔ ลานหน้าถ้ำ ในลานหน้าถ้ำมีรูปยักษ์ปูนปั้นสองตนอยู่ด้านหน้าของ
เสาหัวเม็ดตรงประตูหลัง บริเวณนี้มีพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาเป็นจำนวนมาก
รอยพระพุทธบาทจำลองแกะไม้ฝังลงไปในเนื้อไม้เป็นลวดลายมงคล ๑๐๘
ขนาดกว้าง ๖๓ เซนติเมตร ยาว ๑.๗๒ เมตร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายถึง
รัตนโกสินทร์ตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๔
 
๒.๕ กำแพงด้านทิศตะวันตกสุด เป็นกำแพงด้านในสุด อยู่ถัดจากกำ
แพงด้านทิศตะวันตก ๒.๗๐ เมตร ก่อปิดด้านในสุดของผนังเพิงผาด้านทิศตะ
วันตก ทำให้เกิดห้องเล็ก ๆ ซึ่งได้มีการนำพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จ
พระเจ้าตากสินมหาราชมาประดับที่ซุ้มประตู หลังถ้ำด้านในมีพระพุทธรูปปาง
ไสยาสน์ปูนปั้นหนึ่งองค์

๓.พระตำหนักสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ตั้งอยู่บนบริเวณชะง่อนหินใกล้เชิงเขา  เมื่อขึ้นเขาตามบันไดนาคไป
ประมาณ ๑๐ เมตรจะพบพระตำหนักของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอยู่
ทางซ้ายมือบริเวณโดยรอบกุฎิมีซากกำแพงก่ออิฐเตี้ย ๆ

เส้นทางเข้าสู่เขาขุนพนม
 
จากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปตามถนนสาย ๔๐๑๖ นครศรีธรรมราช
ถึงอำเภอพรหมคีรี ระยะทางประมาณ ๒๔ กิโลเมตร ถึงสี่แยกพรหมโลก เลี้ยว
ขวาเข้าไปตามถนนสายพรหมโลก - ท่าแพ ถึงบ้านนาเสน ระยะทางประมาณ
๒ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปประมาณ ๕๐๐ เมตร จะเห็นเขาขุนพนมตั้งอยู่เบื้องหน้า      
                                                                      
พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโดยสังเขป

พระนามเดิม สิน (จากพระราชสาส์นที่ทรงมีไปถึงพระเจ้ากรุงจีนใน

พ.ศ. ๒๓๒๔ ทรงลงพระนามว่า แต้เจียว”) ทรงเป็นบุตรชายของขุนพัฒน์

ตำแหน่งนายอากร ชื่อหยง มารดาชื่อนกเอี้ยง ประสูติเมื่อวันที่ ๗ เมษายน

๒๒๗๗ ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ บ้านของขุนพัฒน์(หยง) อยู่หน้า

บ้านของเจ้าพระยาจักรี ขุนพัฒน์นำบุตรชายไปไว้ในความอุปการะของเจ้า

พระยาจักรี   ซึ่งเจ้าพระยาจักรีได้นำ เด็กชายสิน  ไปฝากให้รับการศึกษา

อบรมอยู่ในสำนักพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส จนอายุได้ ๑๓ ปี มีความ

รู้อ่าน เขียน หนังสือไทยเป็นอย่างดี เจ้าพระยาจักรีจึงนำเข้าถวายตัวเป็น 

มหาดเล็กในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในระหว่างนี้นายสินได้ศึกษาวิชาหนัง 

สือเพิ่มเติม จนสามารถอ่านเขียนพูดภาษาต่างๆ ได้หลายภาษานอกจาก  

ภาษาไทย เช่น จีน ญวน บาลี และนายสินสนใจ ศึกษากฎหมาย เป็นพิเศษ

ได้ศึกษาอยู่จนถึงระยะอุปสมบท  ก็กราบถถวายบังคมลาไปอุปสมบทที่วัด

โกษาวาส ซึ่งเป็นระยะเดียวกับนายทองด้วง (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด

ฟ้าฯ) อุปสมบทอยู่ที่วัดมหาทลาย ครั้นเมื่อลาสิกขา ออกมาแล้ว ทั้งนาย 

สินและนายทองด้วงเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กต่อไปในพระเจ้าอยู่หัว    

บรมโกศ ต่อมาในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์(พ.ศ.๒๓๐๑-๒๓๑๐) นายสิน    

ซึ่งมีความรู้ทางกฎหมายเป็นอย่างดีได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตร   

อันเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาทางกฎหมายไปประจำอยู่ที่เมืองตากทำหน้าที่  

นั้นอยู่จนพระยาตากถึงแก่อสัญกรรม หลวงยกกระบัตร(สิน) จึงได้รับแต่ง  

ตั้งเป็นเจ้าเมืองตากต่อมา(คนนิยมเรียกว่า พระยาตากสิน จนแม้กระทั่ง    

ทรงเป็นกษัตริย์แล้ว ก็ยังเรียกว่า พระเจ้าตาก หรือพระเจ้าตากสิน หรือ   

ขุนหลวงตาก) ครั้นเมื่อพม่าล้อมกรุงฯ ในปี พ.ศ.๒๓๐๘ พระยาตาก(สิน)  

ก็ถูกเรียกตัวเข้ามา ช่วยป้องกัน (ซึ่งขณะนั้นเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็น   

พระยาวชิรปราการ ตำแหน่งเจ้าเมืองกำแพงเพชร) ท้อใจว่า ถ้าอยู่สู้กับ    

พม่าในกรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียชีวิต เพราะข้าศึกเข้ามาฆ่า หรือไม่ก็เพราะ

ต้องพระราชอาญาเป็นแน่แท้ จึงตัดสินใจพาทหารคู่ใจราว ๑๐๐๐ คนโจม

ตีพม่าไปตั้งตัวที่เมืองจันทบุรีครั้งต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน   

เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว พระยาตากรวบรวมกำลังคนได้เพียง    

พอแล้วก็นำทัพเรือ จากจันทบุรีเข้าขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา     

ได้ทั้งหมด หลังจากที่เสียกรุงไปเพียง ๗ เดือนเท่านั้น หลังจากนั่งช้าง   

ตรวจสภาพความเสียหายของบ้านเมืองแล้ว พระยาตากก็เห็นว่าไม่สม    

ควรจะใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของไทยในสมัยนั้นและได้เล็งเห็น  

ว่า กรุงธนบุรีเหมาะที่จะใช้เป็นเมืองหลวงต่อไป การสถาปนากรุงธนบุรี   

เป็นเมืองหลวงและพิธีพระบรมราชาภิเษก กระทำขึ้นในเดือนธันวาคม     

พ.ศ. ๒๓๑๐ ทรงตั้งนามเมืองหลวงว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ส่วน       

พระองค์เองนั้นมีพระนามปรากฏหลายพระนาม เช่น สมเด็จพระพุทธเจ้า 

อยู่หัวบรมหน่อพุทธางกูรบ้าง สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ บ้าง ขุนหลวง    

ตากบ้าง พระเจ้ากรุงธนบุรีบ้าง ขณะที่ทรงครองราชย์นั้น พระชนม์ได้      

๓๔ พรรษา พระองค์ครองกรุงธนบุรีอยู่จน พ.ศ. ๒๓๒๕ จึงสวรรคต     

เมื่อ ๖ เมษายน ๒๓๒๕ อันเป็นปีเดียวกันกับที่พระพุทธยอดฟ้าขึ้น     

ครองราชย์เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์                    


ที่มา : ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรี