โฆษณาต้านคอรัปชั่นที่โดนแบน

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมเด้จพระเจ้าตากสินม หาราช



สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระนามเดิมว่า สิน ทรงพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๗ ที่บ้านใกล้กำแพงพระนครศรีอยุธยา
พระราชบิดามีบรรดาศักดิ์เป็น  ขุนพัฒน์
พระราชมารดาชื่อ  นกเอี้ยง
ต่อมาภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระเทพามาตย์ เจ้าพระยาจักรี สมุหนายก
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ขอรับไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรี
ได้นำเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็ก ทำราชการอยู่ในบังคับบัญชาของหลวงศักดิ์นายเวร
เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี เจ้าพระยาจักรี ได้ทำการอุปสมบทให้ในสำนักพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดเชิงท่า)
อยู่สามพรรษาแล้วลาสิกขาเข้ารับราชการตามเดิม ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓) ได้รับโปรดเกล้า ฯให้เป็นข้าหลวงพิเศษเดินทางไปชำระคดีความตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีความดีความชอบ ได้รับโปรดเกล้า ฯ
ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ต่อมาเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาตากแทน
เมื่อพม่ายกกำลังเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าครั้งที่สอง พระยาตากได้เข้ามาช่วยราชการป้องกันกรุงศรีอยุธยาอย่างเข้มแข็ง แต่ในที่สุดเมื่อเห็นว่าการป้องกันกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้น ไม่อำนวยให้กระทำได้อย่างเต็มที่
และอยู่นอกอำนาจหน้าที่ที่พระองค์จะแก้ไขได้ จึงได้หาทางต่อสู้ใหม่ ด้วยการตีฝ่าวงล้อมพม่าออกไป ด้วยกำลังเล็กน้อยเพียง ๕๐๐ คนได้ต่อสู้กับกองทหารพม่าที่บ้านพรานนก ได้ชัยชนะจากนั้นได้นำกำลังไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี เพื่อรวบรวมกำลังมากู้กรุงศรีอยุธยาที่เสียแก่พม่า เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ เมื่อพระองค์ทรงรวบรวมกำลังพลได้ประมาณ ๕,๐๐๐ คน กับเรือรบ ๑๐๐ ลำ ก็ได้ยกกำลังทางเรือเข้ายึดเมืองธนบุรีได้เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๑ ในวันต่อมาพระองค์ได้ตีค่ายทหารพม่าที่ค่ายโพธิสามต้น และค่ายอื่นๆ แตกทุกค่าย ทำการกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จในเวลาเพียงเจ็ดเดือน
หลังจากขับไล่พม่าออกไปแล้วพระองค์ก็ได้ทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๑
เมื่อพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชที่ ๔ แต่คนทั่วไปนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  พระองค์ทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาที่ถูกฝ่ายพม่าเผาผลาญวอดวาย ทำลายบ้านเมืองไปหมดสิ้นเกินกว่าที่จะบูรณปฎิสังขรณ์ให้กลับเป็นเมืองหลวงได้ จึงทรงเลือกเมืองธนบุรี
ที่มีความเหมาะสมกว่าขึ้นเป็นราชธานี พระราชกรณียกิจของพระองค์ในลำดับต่อมาคือการรวบรวมกำลังไว้ต่อสู้กับพม่าต่อไปคือความเป็นปึกแผ่นของพระราชอาณาจักร  ซึ่งในเวลานั้นได้มีผู้ตั้งตนเป็นใหญ่ห้าชุมนุมต่าง ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมาย และชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เมื่อรวมชุมนุมของพระองค์เองที่กรุงธนบุรีแล้วก็มีถึงห้าชุมนุม   พระองค์ทรงใช้เวลาในการปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ อยู่สามปี จึงเสร็จปราบปรามได้เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๓ ทำให้พระราชอาณาจักรเป็นปึกแผ่น ส่วนหัวเมืองมาลายูได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยามาแต่เดิม และได้แยกตัวเป็นอิสระเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์เห็นว่ายังไม่พร้อม และยังไม่มีความสำคัญเร่งด่วน ที่จะไปปราบปรามจึงได้ปล่อยไปก่อน ในการทำสงครามกับพม่าในระยะต่อมา พระองค์ได้เปลี่ยนหลักนิยมในการยึดพระนครเป็นที่ตั้งรับข้าศึก มาเป็นการยกกำลังไปยับยั้งข้าศึกที่ชายแดน ทำให้ประชาชนพลเมืองไม่ได้รับอันตรายเสียหายเดือดร้อนจากข้าศึก ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการทำสงครามขยายพระราชอาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยาออกไปอย่างกว้างขวาง โดยได้ทำศึกสงครามกับพม่า และอาณาจักรอื่น ๆ รวม ๑๒ ครั้งคือ
พ.ศ.๒๓๑๐ ศึกพม่าที่บางกุ้ง
พ.ศ.๒๓๑๒ ศึกเมืองเขมรครั้งที่ ๑
พ.ศ.๒๓๑๔ ศึกเมืองเชียงใหม่
พ.ศ.๒๓๑๔ ศึกเมืองเขมรครั้งที่ ๒
พ.ศ.๒๓๑๕ - ๒๓๑๖ ศึกพม่าตีเมืองพิชัย
พ.ศ.๒๓๑๗ ศึกเมืองเชียงใหม่
พ.ศ.๒๓๑๘ ศึกพม่าที่บางแก้ว
พ.ศ.๒๓๑๘ ศึกอะแ

                                                   สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


ประวัติความเป็นมา
 
ตามประวัติเชื่อกันว่า เขาขุนพนมเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้า
ตากสินมหาราช ภายหลังจากสิ้นรัชกาลของพระองค์ มีผู้สันนิษฐานว่าพระเจ้า
ตากสิน มิได้ทรงถูกประหารชีวิตอย่างที่พงศาวดารได้กล่าวอ้าง แต่ได้ทรงสับ
เปลี่ยนพระองค์กับพระญาติหรือทหารคนสนิท แล้วเสด็จมายังนครศรีธรรมราช
มีการเตรียมการโดยมีการสร้างป้อมปราการทำเชิงเทินป้อมวงกลมตามชะง่อน
ผาเพื่อให้พระเจ้าตากสินได้ประทับเมื่อทรงผนวชเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่
วัดเขาขุนพนมจนเสด็จสวรรคต  แต่บางกระแสกล่าวว่าเขาขุนพนมสร้างโดย
พระยาตรังภูมาภิบาลเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช สำหรับพักตากอากาศที่เขาขุน
พนมจึงมีการสร้างป้อมปราการคอยป้องกันอย่างแน่นหนา

ความสำคัญต่อชุมชน
 
ชาวเขาขุนพนมมีความเชื่อเรื่องพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จมาประทับ
ที่เขาขุนพนม จึงได้ร่วมมือกันสร้างพระตำหนักสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
บริเวณชะง่อนหินเชิงเขาซึ่งเป็นบริเวณที่เชื่อว่าพระองค์ประทับขณะผนวชอยู่
ประชาชนที่ยังระลึกถึงวีรกรรมและความกล้าหาญในการกู้เอกราชชาติไทยใน
สมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ได้ร่วมกันสร้างพระบรมสาทิสลักษณ์ทั้งในเพศ
บรรชิต และชุดฉลองพระองค์นักรบ แล้วอัญเชิญมาไว้ในศาลให้ผู้คนที่ศรัทธา
ได้มากราบไหว้ ปัจจุบันจึงมีประชาชนจากทั่วสารทิศมาเขาขุนพนมอยู่เสมอเพื่อ
ตามรอยพระเจ้าตากสินมหาราช

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
 
เขาขุนพนมมีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนลูกโดดเตี้ย ๆ มีต้นไม้ปกคลุมอยู่
อย่างหนาแน่น บนภูเขามีถ้ำหินปูนที่มีโพรงหินงอกหินย้อน ลักษณะของภูเขา
วางตัวอยู่ในแถบเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ ๗๕๐ เมตร กว้างตามแนวทาง
ทิศตะวันออก - ตะวันตก ประมาณ ๕๐๐ เมตร สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ประมาณ ๔๓ เมตร ส่วนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๑๖๕
เมตร ทางทิศใต้ของภูเขาเป็นทางลาดชัน ทางทิศเหนือเป็นไหล่เขา ทางทิศ
ตะวันตกเป็นสวนมังคุดและสวนยางพารา ทางทิศตะวันตกเป็นโรงเรียนและวัด
เขาขุนพนมเขาขุนพนม มีจุดเด่นอยู่ที่วัดเขาขุนพนมซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก
เฉียงใต้ของเขาขุนพนม  ประวัติการก่อสร้างไม่ปรากฏ  แต่หลักฐานประเภท
โบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ  สามารถบ่งนี้ได้ว่า  วัดเขาขุนพนมน่าจะ
สร้างขึ้น ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญ
ได้แก่
   ๑. พระอุโบสถ

เดิมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาด ๕.๘๐ x ๑๑.๒๐ เมตร ตั้งอยู่บนฐานยก
พื้นสูง ๑.๗๕ เมตร เป็นฐานเขียงสองชั้นและฐานสิงห์หนึ่งชั้น หลังคาจั่วไม่มีช่อ
ฟ้า ใบระกา และหางหงส์ประดับหลังคาของพระอุโบสถเหมือนทั่วไป ลักษณะจะ
เป็นพระอุโบสถที่เรียกว่า มหาอุด คือไม่มีช่องหน้าต่าง พ.ศ. ๒๕๓๓ มีการบูรณะ
ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ทำให้มีช่องรับแสงใต้หน้าบันและใต้ปีกหลังคา ภายใน
พระอุโบสถประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีสาวกซ้ายขวา
ที่พนมมือ ที่มุมด้านข้างฐานชุกชี รอบพระอุโบสถมีใบเสมาแปดใบตั้งอยู่บนฐาน
สิงห์ ย่อมุมได้สิบสอง ส่วนบนเป็นบัวกลุ่มรองรับใบเสมา

๒. ถ้ำพระเจ้าตาก

บันไดทางขึ้นมีรูปพญานาคปูนปั้นเจ็ดเศียรสองตนแผ่พังพานทอดตัวเป็น
ราวบันไดมีทั้งหมด ๒๔๕ ขั้น กลางลำตัวพญานาคสลักเป็นรูปพระพุทธรูปที่นั่งขัดสมาธิปิดตา อยู่ในวงกลมล้อมรอบด้วยลายเม็ดน้ำค้างและกลีบดอกไม้ ด้านนอกวงกลมเป็นลายกระจัง ใต้ศอพญานาคทุกตนมีลายนโม สุดปลายหางพญานาคเป็นเพิงผาขนาดใหญ่เรียกว่า ถ้ำพระเจ้าตากหรือถ้ำเขาขุนพนม ปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันออก มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญได้แก่
 
๒.๑ ประตูทางเข้าด้านหน้า เป็นเสาหัวเม็ดเตี้ย ๆ ช่องประตูกว้างประมาณ
๗๐ เซนติเมตร ติดกับเสาหัวเม็ดด้านเหนือมีกำแพงแก้วเตี้ย ๆ ไปชิดกับผนังกำแพงก่ออิฐถือปูน
 
๒.๒ กำแพงทางด้านทิศเหนือ เป็นกำแพงอิฐถือปูนกว้างประมาณ ๒.๖๐
เมตร ยาว ๙.๓๐ เมตร สูง ๑.๘๐ เมตร ส่วนบนสุดของกำแพงประดับด้วยใบเสมา
ภายในห้องหลังกำแพงประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสามองค์ ด้านข้างผนัง
ถ้ำมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยหนึ่งองค์และพระพุทธรูปสมาธิสององค์ ตัวกำแพงมี
การนำถ้วยชามาตกแต่ง   บริเวณซุ้มของกำแพงยังปรากฏถ้วยลายครามจีนสมัย
ราชวงศ์หมิง ส่วนยอดของซุ้มประตูมีเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์ชิงบริเวณซุ้ม
กำแพงทิศเหนือด้านในก่อเป็นเสา ยอดเสาคงเป็นเจดีย์ยอดแต่ส่วนขององค์ระฆัง
หักหายไปแล้ว เหลือเพียงฐานที่เป็นฐานสิงห์หนึ่งชั้นรองรับบัวกลุ่มประตูด้าน
หลังทำเป็นเสาหัวเข็มสองเสาเหมือนประตูทางเข้าด้านหน้าตัดจากเสาหัวเม็ด
ไปทางทิศเหนือเป็นราวกำแพงเตี้ยๆไปชนกับกำแพง ด้านทิศเหนืออีกด้านไป
ชนทางด้านทิศตะวันตก
 
๒.๓ กำแพงด้านทิศตะวันตก อยู่ตรงกันข้ามกับประตูทางเข้าออกด้าน
หน้าเป็นกำแพงสูงประมาณ ๑.๘๐ เมตร ยอดกำแพงไม่มีใบเสมา ในผนังกำแพง
มีเสาหลอกสามต้น  เสาด้านนอกสุดมีบัวหัวเสาคาดด้วยลูกแก้วอกไก่ ส่วนยอด
เสาคงเป็นเจดีย์ยอดเช่นเดียวกับเสาด้านใน กำแพงด้านนี้ตกแต่งประดับประดา
ด้วยลายปูนปั้นทำเป็นรูปดอกไม้ โดยใช้เศษเครื่องลายครามจีนตกแต่ง จุดเด่น
ของผนังด้านนี้คือปูนปั้นรูปราหูอมจันทร์ ราหูไม่มีริมผีปากล่าง กางแขนออก
สองมือประคองดวงจันทร์ อ้าปากแยกเขี้ยวคล้ายจะกลืนกิน
 
๒.๔ ลานหน้าถ้ำ ในลานหน้าถ้ำมีรูปยักษ์ปูนปั้นสองตนอยู่ด้านหน้าของ
เสาหัวเม็ดตรงประตูหลัง บริเวณนี้มีพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาเป็นจำนวนมาก
รอยพระพุทธบาทจำลองแกะไม้ฝังลงไปในเนื้อไม้เป็นลวดลายมงคล ๑๐๘
ขนาดกว้าง ๖๓ เซนติเมตร ยาว ๑.๗๒ เมตร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายถึง
รัตนโกสินทร์ตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๔
 
๒.๕ กำแพงด้านทิศตะวันตกสุด เป็นกำแพงด้านในสุด อยู่ถัดจากกำ
แพงด้านทิศตะวันตก ๒.๗๐ เมตร ก่อปิดด้านในสุดของผนังเพิงผาด้านทิศตะ
วันตก ทำให้เกิดห้องเล็ก ๆ ซึ่งได้มีการนำพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จ
พระเจ้าตากสินมหาราชมาประดับที่ซุ้มประตู หลังถ้ำด้านในมีพระพุทธรูปปาง
ไสยาสน์ปูนปั้นหนึ่งองค์

๓.พระตำหนักสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ตั้งอยู่บนบริเวณชะง่อนหินใกล้เชิงเขา  เมื่อขึ้นเขาตามบันไดนาคไป
ประมาณ ๑๐ เมตรจะพบพระตำหนักของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอยู่
ทางซ้ายมือบริเวณโดยรอบกุฎิมีซากกำแพงก่ออิฐเตี้ย ๆ

เส้นทางเข้าสู่เขาขุนพนม
 
จากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปตามถนนสาย ๔๐๑๖ นครศรีธรรมราช
ถึงอำเภอพรหมคีรี ระยะทางประมาณ ๒๔ กิโลเมตร ถึงสี่แยกพรหมโลก เลี้ยว
ขวาเข้าไปตามถนนสายพรหมโลก - ท่าแพ ถึงบ้านนาเสน ระยะทางประมาณ
๒ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปประมาณ ๕๐๐ เมตร จะเห็นเขาขุนพนมตั้งอยู่เบื้องหน้า      
                                                                      
พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโดยสังเขป

พระนามเดิม สิน (จากพระราชสาส์นที่ทรงมีไปถึงพระเจ้ากรุงจีนใน

พ.ศ. ๒๓๒๔ ทรงลงพระนามว่า แต้เจียว”) ทรงเป็นบุตรชายของขุนพัฒน์

ตำแหน่งนายอากร ชื่อหยง มารดาชื่อนกเอี้ยง ประสูติเมื่อวันที่ ๗ เมษายน

๒๒๗๗ ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ บ้านของขุนพัฒน์(หยง) อยู่หน้า

บ้านของเจ้าพระยาจักรี ขุนพัฒน์นำบุตรชายไปไว้ในความอุปการะของเจ้า

พระยาจักรี   ซึ่งเจ้าพระยาจักรีได้นำ เด็กชายสิน  ไปฝากให้รับการศึกษา

อบรมอยู่ในสำนักพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส จนอายุได้ ๑๓ ปี มีความ

รู้อ่าน เขียน หนังสือไทยเป็นอย่างดี เจ้าพระยาจักรีจึงนำเข้าถวายตัวเป็น 

มหาดเล็กในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในระหว่างนี้นายสินได้ศึกษาวิชาหนัง 

สือเพิ่มเติม จนสามารถอ่านเขียนพูดภาษาต่างๆ ได้หลายภาษานอกจาก  

ภาษาไทย เช่น จีน ญวน บาลี และนายสินสนใจ ศึกษากฎหมาย เป็นพิเศษ

ได้ศึกษาอยู่จนถึงระยะอุปสมบท  ก็กราบถถวายบังคมลาไปอุปสมบทที่วัด

โกษาวาส ซึ่งเป็นระยะเดียวกับนายทองด้วง (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด

ฟ้าฯ) อุปสมบทอยู่ที่วัดมหาทลาย ครั้นเมื่อลาสิกขา ออกมาแล้ว ทั้งนาย 

สินและนายทองด้วงเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กต่อไปในพระเจ้าอยู่หัว    

บรมโกศ ต่อมาในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์(พ.ศ.๒๓๐๑-๒๓๑๐) นายสิน    

ซึ่งมีความรู้ทางกฎหมายเป็นอย่างดีได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตร   

อันเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาทางกฎหมายไปประจำอยู่ที่เมืองตากทำหน้าที่  

นั้นอยู่จนพระยาตากถึงแก่อสัญกรรม หลวงยกกระบัตร(สิน) จึงได้รับแต่ง  

ตั้งเป็นเจ้าเมืองตากต่อมา(คนนิยมเรียกว่า พระยาตากสิน จนแม้กระทั่ง    

ทรงเป็นกษัตริย์แล้ว ก็ยังเรียกว่า พระเจ้าตาก หรือพระเจ้าตากสิน หรือ   

ขุนหลวงตาก) ครั้นเมื่อพม่าล้อมกรุงฯ ในปี พ.ศ.๒๓๐๘ พระยาตาก(สิน)  

ก็ถูกเรียกตัวเข้ามา ช่วยป้องกัน (ซึ่งขณะนั้นเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็น   

พระยาวชิรปราการ ตำแหน่งเจ้าเมืองกำแพงเพชร) ท้อใจว่า ถ้าอยู่สู้กับ    

พม่าในกรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียชีวิต เพราะข้าศึกเข้ามาฆ่า หรือไม่ก็เพราะ

ต้องพระราชอาญาเป็นแน่แท้ จึงตัดสินใจพาทหารคู่ใจราว ๑๐๐๐ คนโจม

ตีพม่าไปตั้งตัวที่เมืองจันทบุรีครั้งต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน   

เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว พระยาตากรวบรวมกำลังคนได้เพียง    

พอแล้วก็นำทัพเรือ จากจันทบุรีเข้าขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา     

ได้ทั้งหมด หลังจากที่เสียกรุงไปเพียง ๗ เดือนเท่านั้น หลังจากนั่งช้าง   

ตรวจสภาพความเสียหายของบ้านเมืองแล้ว พระยาตากก็เห็นว่าไม่สม    

ควรจะใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของไทยในสมัยนั้นและได้เล็งเห็น  

ว่า กรุงธนบุรีเหมาะที่จะใช้เป็นเมืองหลวงต่อไป การสถาปนากรุงธนบุรี   

เป็นเมืองหลวงและพิธีพระบรมราชาภิเษก กระทำขึ้นในเดือนธันวาคม     

พ.ศ. ๒๓๑๐ ทรงตั้งนามเมืองหลวงว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ส่วน       

พระองค์เองนั้นมีพระนามปรากฏหลายพระนาม เช่น สมเด็จพระพุทธเจ้า 

อยู่หัวบรมหน่อพุทธางกูรบ้าง สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ บ้าง ขุนหลวง    

ตากบ้าง พระเจ้ากรุงธนบุรีบ้าง ขณะที่ทรงครองราชย์นั้น พระชนม์ได้      

๓๔ พรรษา พระองค์ครองกรุงธนบุรีอยู่จน พ.ศ. ๒๓๒๕ จึงสวรรคต     

เมื่อ ๖ เมษายน ๒๓๒๕ อันเป็นปีเดียวกันกับที่พระพุทธยอดฟ้าขึ้น     

ครองราชย์เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์                    


ที่มา : ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น