โฆษณาต้านคอรัปชั่นที่โดนแบน

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555


ประเทศออสเตรเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บย่อ:
Australia
เครือรัฐออสเตรเลีย
Commonwealth of Australia (อังกฤษ)
ธงชาติตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี (เดิม Advance Australia)
เพลงชาติแอดวานซ์ออสเตรเลียแฟร์
เมืองหลวงแคนเบอร์รา
35°15′S 149°28′E / 35.25°S 149.467°E
เมืองใหญ่สุดซิดนีย์
ภาษาทางการไม่ได้กำหนด
ภาษาอังกฤษ (โดยพฤตินัย)
การปกครองสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 - ประมุขสมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 2
 - ผู้สำเร็จราชการเคว็นทิน ไบรซ์
 - นายกรัฐมนตรีแห่งออสเตรเลียจูเลีย กิลลาร์ด
เอกราชจาก สหราชอาณาจักร 
 - รัฐธรรมนูญ1 มกราคม พ.ศ. 2444 
 - บทกฎหมาย เวสต์มินสเตอร์11 ธันวาคม พ.ศ. 2474 (ประกาศใช้ 3 กันยายน พ.ศ. 2482
 - พระราชบัญญัติ ออสเตรเลีย3 มีนาคม พ.ศ. 2529 
พื้นที่
 - รวม7,686,850 ตร.กม. (6)
2,967,909 ตร.ไมล์ 
 - แหล่งน้ำ (%)1
ประชากร
 - 2550 (ประเมิน)20,948,900[1] (53)
 - 2544 (สำมะโน)18,972,350 
 - ความหนาแน่น2.65 คน/ตร.กม. (217)
5.2 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ)2548 (ประมาณ)
 - รวม630.1 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (17)
 - ต่อหัว30,897 ดอลลาร์สหรัฐ (14)
ดพม. (2546)0.955 (สูง) (3)
สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD)
เขตเวลามีหลายเขต (UTC+8–+10)
 - (DST)มีหลายเขต (UTC+8–+11)
ระบบจราจรซ้ายมือ
โดเมนบนสุด.au
รหัสโทรศัพท์61
เครือรัฐออสเตรเลีย (อังกฤษCommonwealth of Australia) เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่นๆในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี และติมอร์ตะวันออกทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อออสเตรเลีย มาจากคำในภาษาละติน ว่า australis ซึ่งหมายถึงทิศใต้ โดยมีตำนานถึง "ดินแดนทางใต้ที่ไม่รู้จัก" (ละตินterra australis incognita) ชาวยุโรปเริ่มสำรวจค้นพบออสเตรเลียในพุทธศตวรรษที่ 22 และต่อมาจึงกลายเป็นดินแดนอาณานิคมของบริเตน โดยเริ่มต้นเป็นอาณานิคมนักโทษในนิวเซาท์เวลส์ และจึงมีการตั้งอาณานิคมขึ้นอีกห้าแห่ง อาณานิคมทั้งหกรวมตัวเป็นสหพันธรัฐในปีพ.ศ. 2444 ออสเตรเลียมีชนพื้นเมืองซึ่งอาศัยตั้งแต่ก่อนชาวยุโรปเข้ามา เรียกว่าชาวอะบอริจิน

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]ภูมิศาสตร์

ออสเตรเลียมีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปร้อยละ 65 เป็นที่ราบสูง และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งและทุรกันดาร และมีขนาดทะเลทรายรวมกันใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทะเลทรายสะฮาราในทวีปแอฟริกา ชาวออสเตรเลียเรียกดินแดนที่แห้งแล้งและทุรกันดารนี้ว่า "เอาต์แบ็ก" ประชากรออสเตรเลียส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกหลังเทือกเขาเกรตดิไวดิง ซึ่งแบ่งแยกชายฝั่งตะวันออกกับเขตเอาต์แบ็ก มีแม่น้ำสายสำคัญ ๆ อยู่ทางภูมิภาคตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำดาร์ลิง แม่น้ำเมอร์เรย์ ส่วนตอนกลางของประเทศที่เรียกว่า "เขตเซนทรัลโลว์แลนด์" เป็นเขตแห้งแล้งที่สุด แม่น้ำลำธารต่าง ๆ อาจแห้งสนิทเป็นเวลาหลายปี เนื่องจาก ทวีป ออสเตรเลียมีสภาพเป็นเกาะทำให้ มีสิ่งมีชวิตที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง เนื่องจากสิ่งมีชีวิตพวกนี้ได้มีวิวัฒนาการเป็นอิสระจากสิ่งมีชีวิตบนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง เช่น จิงโจ้

[แก้]ประวัติศาสตร์

ชนพื้นเมืองในออสเตรเลียก่อนการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป คือชาวอะบอริจิน และชาวเกาะทอร์เรสสเทรต ซึ่งชนเหล่านี้มีภาษาแตกต่างกันนับร้อยภาษา[2] ประมาณการว่า มีชาวอะบอริจินมากกว่า 780,000 คนอยู่ในออสเตรเลียในปีพ.ศ. 2331[3]

[แก้]การตั้งถิ่นฐาน

ภาพวาดเมืองแอดีเลดในปี ค.ศ. 1839
การค้นพบออสเตรเลียของชาวยุโรปครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2149 เป็นเรือของชาวดัตช์ โดยกัปตัน Willem Janszoon ทำแผนที่ชายฝั่งส่วนหนึ่งของออสเตรเลีย ระหว่างปีพ.ศ. 2149 และ 2313 มีเรือของชาวยุโรปประมาณ 54 ลำจากหลายชาติเดินทางมาที่ออสเตรเลีย ซึ่งรู้จักในขณะนั้นว่านิวฮอลแลนด์[4] ในปีพ.ศ. 2313เจมส์ คุก เดินทางมาสำรวจออสเตรเลียและทำแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย และได้ประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ให้ชื่อว่านิวเซาท์เวลส์ ต่อมาสหราชอาณาจักรใช้ออสเตรเลียเป็นทัณฑนิคม[4]กองเรือชุดแรกเดินทางมาถึงออสเตรเลียที่อ่าวซิดนีย์ในปีพ.ศ. 2330 ในวันที่ 26 มกราคม (ค.ศ. 1788) ซึ่งต่อมาเป็นวันออสเตรเลีย ผู้ตั้งถิ่นฐานยุคแรกส่วนใหญ่เป็นนักโทษและครอบครัวของทหาร โดยมีผู้อพยพเสรีเริ่มเข้ามาในปีพ.ศ. 2336 มีการตั้งถิ่นฐานบนเกาะแทสเมเนีย หรือชื่อในขณะนั้นคือฟานไดเมนส์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2346 และตั้งเป็นอาณานิคมแยกอีกแห่งหนึ่งในปีพ.ศ. 2368 สหราชอาณาจักรประกาศสิทธิในฝั่งตะวันตกในปีพ.ศ. 2372 และเริ่มมีการตั้งอาณานิคมแยกขึ้นมาอีกหลายแห่ง ได้แก่เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และควีนส์แลนด์ โดยแยกออกมาจากนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลียไม่เคยเป็นอาณานิคมนักโทษ[4] ในขณะที่วิกตอเรียและเวสเทิร์นออสเตรเลียยอมรับการขนส่งนักโทษภายหลัง[5][6] เรือนักโทษลำสุดท้ายมาถึงนิวเซาท์เวลส์ในปีพ.ศ. 2391 หลังจากการรณรงค์ยกเลิกโดยกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐาน[7] การขนส่งนักโทษยุติอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2396 ในนิวเซาท์เวลส์และแทสเมเนีย และปีพ.ศ. 2411 ในเวสเทิร์นออสเตรเลีย[5]
ปีพ.ศ. 2394 เอดเวิร์ด ฮาร์กรีฟส์ ค้นพบสายแร่ทอง ในที่ ๆ เขาตั้งชื่อว่าโอฟีร์ (Ophir) ในนิวเซาท์เวลส์ ทำให้เกิดยุคตื่นทอง นำคนจำนวนมากเดินทางมาออสเตรเลีย[8] ในปีพ.ศ. 2444 หกอาณานิคมในออสเตรเลียรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐ ในชื่อเครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia) ประกอบด้วยรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย และรัฐแทสเมเนีย รวมหกรัฐเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหนึ่งเดียว เฟเดอรัลแคพิทัลเทร์ริทอรีก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2454 เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐ จากส่วนหนึ่งของรัฐนิวเซาท์เวลส์ บริเวณแยส-แคนเบอร์รา และเริ่มดำเนินงานรัฐสภาในแคนเบอร์ราในปีพ.ศ. 2470[9] ในปีพ.ศ. 2454 นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี แยกตัวออกมาจากเซาท์ออสเตรเลีย และเข้าเป็นดินแดนในกำกับของสหพันธ์ ออสเตรเลียสมัครใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมถึง 60,000 คนจากประชากรชายน้อยกว่าสามล้านคน[2]

[แก้]การปกครองตนเอง

ออสเตรเลียประกาศใช้บทกฎหมายเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931 (พ.ศ. 2474) ในปีพ.ศ. 2485 โดยมีผลบังคับใช้ย้อนไปตั้งแต่ 3 กันยายน พ.ศ. 2482[10] ซึ่งเป็นการยุติบทบาทนิติบัญญัติของสหราชอาณาจักรในออสเตรเลียเกือบทั้งหมด ในสงครามโลกครั้งที่สอง ออสเตรเลียประกาศสงครามกับเยอรมนีพร้อมกับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส หลังจากเยอรมนีบุกโปแลนด์[11] ออสเตรเลียส่งทหารเข้าร่วมสมรภูมิในยุโรปเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ แผ่นดินออสเตรเลียโดนโจมตีโดยตรงครั้งแรกจากการเข้าตีโฉบฉวยทางอากาศของญี่ปุ่นที่ดาร์วิน[12] ออสเตรเลียยุตินโยบายออสเตรเลียขาว โดยดำเนินการขั้นสุดท้ายในปีพ.ศ. 2516[13] พระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) ยกเลิกบทบาทของสหราชอาณาจักรในอำนาจนิติบัญญัติและตุลาการของออสเตรเลียโดยสิ้นเชิง ในปีพ.ศ. 2542 ออสเตรเลียจัดการลงประชามติ ว่าจะให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีแต่งตั้งจากรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งคะแนนเสียงเกือบ 55% ลงคะแนนปฏิเสธ[14]

[แก้]การเมืองการปกครอง

อาคารรัฐสภาในแคนเบอร์รา เปิดใช้แทนอาคารหลังเดิมในปี พ.ศ. 2531
ออสเตรเลียมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรูปแบบรัฐบาลเป็นสหพันธรัฐ และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐของออสเตรเลียคือสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 พระอิสริยยศในออสเตรเลียคือ Elizabeth the Second, by the Grace of God Queen of Australia and Her other Realms and Territories, Head of the Commonwealth[15]
ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้แทนพระองค์ในออสเตรเลียของพระประมุขซึ่งประทับอยู่ในสหราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญของออสเตรเลียระบุว่า "อำนาจบริหารเป็นของสมเด็จพระราชินี และทรงใช้อำนาจนั้นผ่านผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนพระองค์ของสมเด็จพระราชินี"[16] อำนาจของผู้สำเร็จราชการนั้นรวมถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีและผู้พิพากษา การยุบสภา และการลงนามบังคับใช้กฎหมาย ผู้สำเร็จราชการคนปัจจุบันคือพลตรีไมเคิล เจฟเฟอรี ผู้สำเร็จราชการยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย[16] ในทางธรรมเนียมปฏิบัตินั้น ผู้สำเร็จราชการจะใช้อำนาจตามคำแนะนำของรัฐมนตรี[17] สภาบริหารสหพันธรัฐ(Federal Executive Council) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้สำเร็จราชการ โดยมีผู้สำเร็จราชการเป็นประธานการประชุม และรัฐมนตรีทุกคนมีสมาชิกภาพตลอดชีพ แต่ในทางปฏิบัติจะเรียกประชุมเฉพาะรัฐมนตรีคณะปัจจุบัน[18] รัฐบาลจะมาจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
ออสเตรเลียมีรัฐสภาเก้าแห่ง หนึ่งสภาของสหพันธ์ หกสภาของแต่ละรัฐ และสองสภาของแต่ละดินแดน รัฐสภาของสหพันธ์ ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) และวุฒิสภา (Senate) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้แทนเขตละหนึ่งคน วุฒิสภามีสมาชิก 76 คน มาจากแต่ละรัฐ รัฐละ 12 คน และจากดินแดน (เขตเมืองหลวงและนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี) ละสองคน[19] ทั้งสองสภาจัดการเลือกตั้งทุกสามปี สมาชิกวุฒิสภามีวาระ 6 ปี โดยการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด
ออสเตรเลียมีพรรคการเมืองหลักสามพรรค ได้แก่พรรคแรงงานออสเตรเลีย พรรคเสรีนิยม และพรรคชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 รัฐบาลของสหพันธ์มาจากพรรคแรงงานหรือเป็นรัฐบาลผสมของพรรคเสรีนิยมและพรรคชาติ[20] ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีจูเลีย กิลลาร์ด มาจากพรรคแรงงาน พรรคอื่นๆที่มีบทบาทได้แก่ออสเตรเลียนเดโมแครต และออสเตรเลียนกรีนส์ โดยมักได้ที่นั่งในวุฒิสภา

[แก้]กองทัพ

ดูบทความหลักที่ กองทัพออสเตรเลีย

[แก้]กองทัพบก

[แก้]กองทัพอากาศ

[แก้]กองทัพเรือ

[แก้]กองกำลังกึ่งทหาร

[แก้]รัฐและดินแดน

แผนที่รัฐและดินแดนของออสเตรเลีย
ออสเตรเลียแบ่งออกเป็น 6 รัฐ ได้แก่
นอกจากนี้ยังมีดินแดนหลักๆบนแผ่นดินใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี (เขตเมืองหลวง) และดินแดนเล็กน้อยอื่นๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว ดินแดนนั้นมีลักษณะเดียวกับรัฐ แต่รัฐสภากลางสามารถค้านกฎหมายใดก็ได้จากสภาของดินแดน [21]ในขณะที่ในระดับรัฐ กฎหมายสหพันธ์จะค้านกับกฎหมายรัฐได้เพียงในบางด้านตามมาตรา 51 ของรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติอื่นๆนั้นเป็นของรัฐสภาของแต่ละรัฐ
แต่ละรัฐและดินแดนมีสภานิติบัญญัติของตัวเอง โดยในควีนสแลนด์และดินแดนทั้งสองแห่งเป็นลักษณะสภาเดี่ยว ในขณะที่ในรัฐที่เหลือเป็นแบบสภาคู่ สมเด็จพระราชินีมีผู้แทนพระองค์ในแต่ละรัฐ เรียกว่า governor และในนอร์เทิร์นเทอร์ริทอรี administrator ส่วนในเขตเมืองหลวง ใช้ผู้แทนพระองค์ของเครือรัฐ (governor-general)

[แก้]เศรษฐกิจ

อาชีพหลักคือการเกษตร เป็นแบบเทคโนโลยีก้าวหน้ามากที่สุดในโลก(คล้ายกับแองโกลอเมริกา) ส่วนการเพาะปลูกจะใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่อการค้าและที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอเรย์-ดาร์ลิง นั้น จะปลูกข้าวสาลีซึ่งเป็นสินค้าที่ส่งออกมากเป็นอันดันหนึ่ง การประมง จะทำน้อยมากเพราะมีประชากรน้อยและค่าแรงแพง

[แก้]ประชากร

ประเทศออสเตรเลียมีประชากรประมาณ​ 21​ ล้านคน[1] ​ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรปที่มาตั้งรกรากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปี​พ.ศ. 2543 มีผู้อพยพใหม่เข้ามาถึง 5.9​ ล้านคน​ทำให้ประชากรเกือบสองในเจ็ดของออสเตรเลียเกิดในต่างประเทศ[22]​หลังจากการเลิกนโยบายออสเตรเลียขาวในปี​พ.ศ. 2516 รัฐบาลออสเตรเลียได้พยายามส่งเสริมความสามัคคีระหว่างเชื้อสายต่าง ๆ​บนพื้นฐานของพหุวัฒนธรรมนิยม[23] ในช่วงปี​ พ.ศ. 2548 ถึง 2549 มีผู้อพยพเข้ามากกว่า 131,000 คน ส่วนใหญ่มาจากทวีปเอเชียและโอเชียเนีย[24]
ประชากรพื้นเมืองของออสเตรเลีย ได้แก่​ชาวอะบอริจินบนแผ่นดินหลักและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส​ซึ่งมีทั้งหมด 410,003 คนในปีพ.ศ. 2544 (ร้อยละ ​2.2 ​ของประชากร) [25]

[แก้]ศาสนา

ออสเตรเลียไม่มีศาสนาประจำชาติ จากการสำรวจสำมะโนครัวในปี พ.ศ. 2549 ประชากรประมาณ 12.6 ล้านคน (64%) ประกาศตัวเป็นคริสเตียน ในจำนวนนี้ 5.1 ล้านคน (26%) เป็นคาทอลิก และ 3.7 ล้านคน (19%) เป็นแองกลิกัน ประชากร 3.7 ล้านคนถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่นับถือศาสนา ซึ่งรวมถึงแนวความเชื่อแบบมนุษยนิยม อเทวนิยม อไญยนิยม และ เหตุผลนิยม ประชากรเกือบหนึ่งล้านคน (5%) นับถือศาสนาอื่น ๆ ซึ่งรวมศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน[26] อย่างไรก็ตาม มีประชากรเพียง 1.5 ล้านคน (7.5%) ที่เข้าโบสถ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น