โฆษณาต้านคอรัปชั่นที่โดนแบน

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555


ยาเสพติด...ภัยสังคมไทย
ยาเสพติดที่แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเสียก่อน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. ประเภทกดประสาท ยาเสพติดประเภทนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้วผู้เสพจะรู้สึกเฉื่อยชา อ่อน เพลียไม่อยากทำงาน ได้แก ฝิ่น เฮโรอีน สารระเหย เหล้าแห้ง เป็นต้น
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ประเภทนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะรู้สึกคึกคัก สดชื่น กระปรี้กระเปร่า กระตือรือล้นอยากทำงาน ตาสว่าง ได้แก่ ยาม้า ยาอี โคเคน และกระท่อม เป็นต้น
3. ประเภทหลอนประสาท ประเภทนี้เมื่อเสพแล้วจะรู้สึกเพ้อฝัน สร้างวิมานในอาการ สลึมสลือ ได้แก่ ยา LSD (ปัจจุบันทำให้รูปแผ่นแสตมป์ คือทำเป็นแผ่นแสตมป์บาง ๆ เคลือบด้วย LSD เสพโดยการวางไว้ที่ลิ้น) กัญชา เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
4. ประเภทออกฤทธิ์แบบผสมผสาน ประเภทนี้จะออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท หรือหลอนประสาทด้วยอาการ ของผู้เสพประเภทนี้ ระยะต้นจะมีอาการแบบหนึ่ง พอสักพักก็จะมีอาการเปลี่ยนไปอีกแบบ เช่น กัญชา เมื่อเสพใหม่ๆ จะมีอาการ เหมือนกระตุ้นแต่พอสักระยะหนึ่งจะมีอาการเซื่องซึมลง
เมื่อก่อนนี้ยาเสพติดทีแพร่ระบาดมากที่สุดในประเทศเราคือเฮโรอีน แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แล้ว ยาเสพติดที่กำลังแพร่ ระบาดมากที่สุดได้แก่ ยาบ้า ยาอี และกำลังแพร่ระบาดเข้าสู่กลุ่มวัยรุ่นและสถาบันการศึกษาอย่างน่าเป็นห่วงยิ่ง
ยาบ้ามีชื่อเรียกหลายชื่อแต่ชื่อที่เป็นทางการว่าแอมเฟตามิน ก่อนหน้านี้เรียกกันว่ายาม้าหรือยาขยันเพราะเชื่อกัน ว่าเมื่อเสพแล้วคึกเหมือนม้าที่กำลังจะออกจากซอง ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2539 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเปลี่ยน ชื่อยาม้าเป็นยาบ้า เพื่อเป็นการบอกให้ประชาชนทราบว่ายาชนิดนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้ว ผู้เสพจะมีสภาพไม่ผิดกับคนบ้าหรือคนที่ เสียสติ กล่าวคือ เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะทำให้มึน ประสาทตึงเครียด จิตใจสับสน กระวนกระวาย ประสาทหลอน เพ้อคลั่ง หัวใจเต้น เร็วผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดการกังวล ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ทำให้ขาดสติ และเป็นต้นเหตุของการเกิด อุบัติเหตุและกระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยไม่รู้ตัว เช่น ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายเพื่อน หรือใช้อาวุธจี้เด็กเป็นตัวประกัน เป็นต้น
ส่วนยาอีนั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เอ็คซ์ตาซี่ (ECSTASY) เป็นสารที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี จัดเป็นวัตถุออก ฤทธิ์ประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ. 2518 และจัดอยู่ในสารที่ต้องควบคุมตามอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ค.ศ. 1971
ยานี้มักจะพบอยู่ในรูปของแคบซูลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีสีสรรต่าง ๆ สวยงาม แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเม็ดกลมแบนสี ขาว น้ำตาล ชมพู ไม่ค่อยพบในลักษณะที่เป็นผง ในประเทศเรารู้จักกันในนามของยา "E" หรือ "XTC" หรือ "ADAM" มีชื่อทาง การค้าของกลุ่มผู้ใช้หลายชื่อ เช่น ESSENCE/LOVE DOVERS/WHITE DOVERS/DISGO BURGERS/NEW YORKERS DISGO BISCUITS และ CALIFORNIAN SUNRISE เป็นต้น
ยาอีนี้มีฤทธิ์กระตุ้นเข่นเดียวกับยาบ้า จะออกฤทธิ์หลังเสพเข้าไปแล้วประมาณ 20-30 นาที และมีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ติดยาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่น คือ
1. จากการถูกชักชวน การถูกชักชวนนี้อาจจะเกิดจากเพื่อนสนิทที่กำลังติดยาอยู่และอยากจะให้เพื่อนลองบ้าง ปัญหานี้มัก จะเกิดกับเด็กที่มีปัญหาทางครอบครัว ขาดความอบอุ่น ใจแตก เอาเพื่อนเป็นที่พึ่ง
นอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในแหล่งที่มีการซื้อขายยาเสพติดก็อาจจะได้รับการชักจูงคุณภาพของยาเสพติดว่าดีต่าง ๆ นานา เช่น อาจ จะบอกว่าเมื่อเสพแล้วจะทำให้ปลอดโปร่งเหมาะแก่การเรียน การทำงาน การชักจูงดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ถูกชักจูง กำลังมึนเมาสุราเที่ยวแตร่กัน จึงทำให้เกิดการติดยาได้
2. จากการอยากทดลอง อยากรู้อยากเห็น อยากจะรู้รสชาติ อยากสัมผัส โดยคิดว่าคงจะไม่ติดง่าย ๆ แต่เมื่อทดลองเสพเข้า ไปแล้วมักจะติด เพราะยาเสพติดในปัจจุบัน เช่น เฮโรอีน จะติดง่ายมากแม้เสพเพียงครั้งหรือสองครั้งก็จะติดแล้ว
3. จากการถูกหลอกลวง ยาเสพติดมีรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ผู้ถูกหลอกลวงไม่ทราบว่าสิ่วงที่ตนได้กินเข้าไปนั้นเป็นยาเสพ ติดให้โทษร้ายแรง คิดว่าเป็นยาธรรมดาไม่มีพิษร้ายแรงอะไรตามที่ผู้หลอกลวงแนะนำ ผลสุดท้ายกลายเป็นผู้ติดยาเสพติดไป
4. เหตุทางกาย ความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ต้องถูกผ่าตัดหรือเป็นโรคปวดศีรษะ เป็นหืดเป็นโรคประสาท ได้รับความ ทรมานทางกายมากผู้ป่วยต้องการบรรเทา พยายามช่วยตัวเองมานานแต่ก็ไม่หาย จึงหันเข้าหายาเสพติดจนติดยาในที่สุด
5. จากความคึกคะนอง บุคคลประเภทนี้คิดว่าตัวเองเป็นคนเก่งอยากลอง ซึ่งรู้แก่ใจว่ายาเสพติดให้โทษเป็นสิ่งไม่ดี แต่ด้วย ความที่คึกคะนองเป็นวัยรุ่นไม่เกรงกลัวอะไร ต้องการแสดงความเด่นดังอวดเพื่อนว่าข้านี้คือพระเอก ขาดความยั้งคิดจึงเสพยา เสพติดและติดยาในที่สุด
6. จากสิ่งแวดล้อม เช่น สถานที่อยู่อาศัยแออัด เป็นแหล่งสลัม หรือเป็นแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด ภาวะทาง เศรษฐกิจบีบคั้นจิตใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือจิตใจผลักดันให้ผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว บางคนหันมาพึ่งยา เสพติด โดยคิดว่าจะช่วยให้ตนเองหลุดพ้นจากสภาพต่าง ๆ ที่คับข้องใจเหล่านั้นได้

จากวารสาร สสวท. ฉบับที่ 97 หน้า 33-36

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น